Breaking News

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

คปภ. ทำงานร่วมกับ กทม. ลงพื้นที่ประสานงานกรณีตึกถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว

คปภ. ทำงานร่วมกับ กทม. ลงพื้นที่ประสานงานกรณีตึกถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว
1
เขียนโดย intrend online 2025-04-11

เร่งตรวจสอบสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยเพื่อดูแลผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน

นายอดิศร พิพัฒน์วรพงศ์ รองเลขาธิการ ด้านกฎหมายและตรวจสอบ พร้อมด้วยนายจอม จีระแพทย์ ผู้ช่วยเลขาธิการสายกฎหมายและคดี และนายคณานุสรณ์ เที่ยงตระกูล ผู้ช่วยเลขาธิการ สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ และเจ้าหน้าที่จากสายกฎหมายและคดี และสายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ลงพื้นที่ไปยังกองอำนวยการร่วมสถานการณ์เหตุแผ่นดินไหวตึกถล่ม อาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน บริเวณหน้าศูนย์การค้า เจ.เจ.มอลล์ ถนนกำแพงเพชร 2 เพื่อดำเนินการประสานงานกับสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อในการดำเนินการประสานและขอรับข้อมูลรายชื่อผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว

รองเลขาธิการ ด้านกฎหมายและตรวจสอบ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงาน คปภ. ได้มีโอกาสหารือกับคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ของรองศาสตราจารย์ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.เกษมสันต์ วีระกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองศาสตราจารย์ ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับแนวทางการบูรณาการ ข้อมูลระหว่างสำนักงาน คปภ. กับสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร โดยจะมีการส่งข้อมูลผู้เสียชีวิตที่สามารถพิสูจน์อัตลักษณ์แล้ว ให้กับสำนักงาน คปภ. เพื่อดำเนินการตรวจสอบสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัยและอำนวยความสะดวกด้านการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทายาทหรือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์โดยเร็ว เบื้องต้น สำนักงาน คปภ. จะตรวจสอบข้อมูลผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บผ่านระบบฐานข้อมูลกลางประกันภัย (Insurance Bureau System - IBS) เพื่อค้นหาความเชื่อมโยงกับกรมธรรม์ประกันภัยที่อาจมีอยู่ ทั้งนี้ หากพบว่ามีการทำประกันภัยไว้ สำนักงาน คปภ. จะเร่งดำเนินการประสานงานกับบริษัทประกันภัยที่เกี่ยวข้องโดยตรง ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของนายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการ คปภ. ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุแผ่นดินไหวตึกถล่ม เพื่อให้สามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้อย่างรวดเร็วและเป็นธรรม

“สำหรับกรณีที่ญาติผู้เสียชีวิต ต้องการตรวจสอบการมีประกันภัย สามารถนำข้อมูลชื่อ-นามสกุล และเลขบัตรประจำตัวประชาชนมาติดต่อสำนักงาน คปภ เพื่อสืบค้นในฐานข้อมูลกลาง (IBS) และหากมีข้อสงสัยด้านการประกันภัยสามารถติดต่อสายด่วน คปภ. 1186 ซึ่งให้บริการตลอด 24 ชม. ตั้งแต่วันแรกที่มีการเกิดสถานการณ์แผ่นดินไหว เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินครั้งนี้” รองเลขาธิการ ด้านกฎหมายและตรวจสอบ กล่าวในตอนท้าย